วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษา 21st Century


ศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑

หลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ มี ๕ ประการคือ
     1.Authentic learning คือการออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงที่เกิดจากชีวิตจริง
     2.Mental model building คือการเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์
     3.Internal motivation คือการเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ
     4.Multiple intelligence คือการออกแบบการเรียนรู้ตามความสามารถของศิษย์แต่ละคน
     5.Social learning คือการเรียนรู้กิจกรรมทางสังคม

ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills)  
        บทบาทของการศึกษาแห่งยุคความรู้ มี ๔ บทบาทคือ
          1.เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม
          2.เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน
          3.เพื่อทำหน้าที่พลเมือง
          4.เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า

ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทยในศตวรรษที่ ๒๑
    ครูต้องจุดไฟแห่งการเรียนรู้ในตัวเด็ก คือการออกแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจ สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อในชั้นเรียนและคอบอำนวยความสะดวกให้แก่ศิษย์ เน้นการลงมือทำมากกว่าการสอนหรือการจดบันทึก ให้ศิษย์ได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีการประเมินว่าศิษย์ได้รับความรู้จากกิจกรรมนั้นๆมากน้อยเพียงใด ซึ่งการเรียนรู้แบบนีเรียกว่า PBL (Project-Bast Learning)

ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่
   ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
     • ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
     • การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
     • การสื่อสารและการร่วมมือ
   ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
      • ความรู้ด้านสารสนเทศ
      • ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
      • ความรู้ด้านเทคโนโลยี
   ทักษะชีวิตและอาชีพ
      • ความยืดหยุ่นและปรับตัว
      • การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
      • ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
      • การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้ (accountability)
      • ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)

ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
        3R ได้แก่    - Reading (อ่านออก)
                           - (W)Riting (เขียนได้)
                           - (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
        7C ได้แก่    - Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ                                    ทักษะในการแก้ปัญหา)
                           - Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
                           - Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวน                                     ทัศน์)
                           - Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม                                   และภาวะผู้นำ)
                           - Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ                                และรู้เท่าทันสื่อ)
                           - Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและ                                 การสื่อสาร)
                           - Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)


พัฒนาสมองห้าด้าน
    1.สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) คือการเรียนรู้ถึงแก่นวิชา ไม่ใช่จดจำสาระแบบผิวเผิน
    2.สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) คือศิษย์สามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้              ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมากลั่นกรองคัดเลือกเอามาเฉพาะส่วนที่สำคัญ และจัดระบบนำเสนอใหม่อย่างมีความหมายได้
    3.สมองด้านสร้างสรรค์ (creatingmind) คือฝึกให้เด็กได้คิดนอกกรอบแต้ต้องนอกกรอบแบบมีขอบเขต ไม่ใช่การคิเนอกกรอบแบบเลื่อนลอย
    4.สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) คือไม่มีอคติ ทั้งด้านลบและด้านบวกต่อคนต่าง
เชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อและให้เกียติกับ                                                                            ทุกคนที่ได้พบปะ
 5.สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) คือเรียนรู้ถึงความดีความชั่ว วิเคราะห์ว่าถ้าเกิดสิ่งนี้ขึ้น สิ่งที่ตามมาจะเป็นเช่นไร

ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ขั้นตอนการเรียนรู้จากผลการวิจัยในยุคปัจจุบันคือ
- จำได้ (remember)
- เข้าใจ (understand)
- ประยุกต์ใช้ (apply)
- วิเคราะห์ (analyze)
- ประเมิน(evaluate)
- สร้างสรรค์ (create)
โดยที่ขั้นตอนเหล่านี้เกิดพร้อม ๆกันได้
หรืออะไรเกิดก่อนเกิดหลังได้ทั้งสิ้น
รวมทั้งเกิดเรียงลำดับจากหลังไปหน้าก็ได้

การเรียนรู้อย่างมีพลัง
เครื่องมือของการเรียนรู้อย่างมีพลังคือ จักรยานแห่งการเรียนรู้
วงล้อมี ๒ วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู
ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ
    Define คือขั้นตอนการทำให้สมาชิกของทีมจะระดมความคิด
    Plan คือการวางแผนก
    Do คือการลงมือทำ
    Review คือการทบทวนในสิ่งที่ได้เรียนมา

วิธีจัดการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีพลัง
การเรียนรู้กลุ่มย่อยแบบร่วมมือกัน (Collaborative Small-Group Learning)
การเรียนรู้แบบใช้โครงการ (Project Learning Methods)
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานคิด (Problem-Based Learning)

ครูที่เก่งคือ ครูที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง
ครูที่เก่งมีคุณลักษณะสำคัญ ๒ ด้าน คือ
๑. รักเอาใจใส่เด็ก เด็กสัมผัสจิตใจเช่นนั้นได้และสบายใจที่จะเข้าหา
ซึ่งเป็นมิติด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์
๒. สามารถออกแบบการเรียนรู้ ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายสำหรับศิษย์
ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกและเกิดความจำระยะยาว

วิธีทำให้ตนเองคิดแบบผู้เชี่ยวชาญด้วย ๔ กลไก ได้แก่
๑. เพิ่มต้นทุนความรู้ (background knowledge หรือ longterm
memory) และจัดระบบไว้อย่างดี ให้พร้อมใช้ (เรียกว่า functional
knowledge) ดึงเอาไปใช้ตรงตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
๒. ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถใช้พื้นที่ความจำใช้งานที่มีจำกัด
ในการคิดได้มากและซับซ้อนขึ้น
๓. ฝึกคิดแบบลึก (deep structure) หรือแบบ functional หรือคิด
ตีความหาความหมาย (meaning) ไม่ใช่คิดแบบตื้น (surface structure)
ตามที่ตาเห็น
๔. คุยกับตัวเองว่า กำลังขบปัญหาอะไรอยู่ ในลักษณะของการมอง
แบบนามธรรม หรือแบบสรุปรวบยอด (generalization) และตั้งสมมติฐาน
เกี่ยวกับการแก้ปัญหานั้นไปในตัว

PLC คืออะไร

 PLC คือ กระบวนการต่อเนื่องที่ครูและนักการศึกษาทำงานร่วมกันในวงจรของการร่วมกันตั้งคำถาม และการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน โดยมีความเชื่อว่า หัวใจของการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น อยู่ที่การเรียนรู้ที่ฝังอยู่ในการทำงานของครูและนักการศึกษา

PLC มีแง่มุมที่สำคัญต่อไปนี้
- เน้นที่การเรียนรู้
- มีวัฒนธรรมร่วมมือกันเพื่อการเรียนรู้ของทุกคน ทุกฝ่าย
- ร่วมกันตั้งคำถามต่อวิธีการที่ดี และตั้งคำถามต่อสภาพปัจจุบัน
- เน้นการลงมือทำ
- มุ่งพัฒนาต่อเนื่อง
- เน้นที่ผล (หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของศิษย์)

หัวใจของ PLC   คือเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นจากตัวป้อนเข้า (input) สู่ผลลัพธ์(outcomes) และจากกิจกรรม (activities) สู่ ผล (results) และข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการทำความเข้าใจผลลัพธ์คือ ข้อมูลของผลลัพธ์ของการเรียนของนักเรียน (Learning Outcome) ที่ได้จากการประเมินเพื่อพัฒนา (formative evaluation) เป็นระยะ ๆ








MIND MAPPING การศึกษาในศตวรรษที่ 21







1 ความคิดเห็น: